กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553

ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อสอบข้อ 60 - 64 โดย save โจทย์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และนำไปลงในบทความบน Blog ของผู้เรียน

สืบค้น

ส่วนรอยเลื่อนที่น่าจับมอง คือรอยเลื่อนสะแกง หรือสะเกียงในประเทศพม่า เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ เป็นรอยเลื่อนแขนงของลอยเลื่อนสะแกง เพราะมีเขื่อนศรีนครินทร์ตั้งอยู่ โดยในปี 2526 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 60 กม.แต่ไม่ได้ส่งผลเสีย และสร้างความเสียหายกับเขื่อน ดังนั้น ควรต้องมีแผนป้องกันภัย แผนเตือนภัย แผนอพยพ และแผนจัดการ เมื่อเกิดภัยพิบัติ นอกจากนี้ ยังรวมถึงรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทยด้วย ส่วนรอยเลื่อนขนาดใหญ่นอกประเทศนอกจากรอยเลื่อนสะแกงแล้ว ยังมีรอยเลื่อนแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ถือว่าประเทศไทยโชคดีที่บรรพบุรุษเลือกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างต่ำ
สำหรับรอยเลื่อนในประเทศไทยที่มีพลังอยู่มี 13 กลุ่ม ประกอบด้วย รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง ครอบคลุมจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุมแม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนเมย ครอบคลุมตากและกำแพงเพชร รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม เชียงใหม่ลำพูน และเชียงราย รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุมลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนพะเยา ครอบคลุมลำปางเชียงรายและพะเยา รอยเลื่อนปัว ครอบคลุมน่าน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ ครอบคลุมอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและราชบุรี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ครอบคลุมกาญจนบุรีและอุทัยธานี รอยเลื่อนท่าแขก ครอบคลุมหนองคายและนครพนม รอยเลื่อนระนอง ครอบคลุมประจวบคีรีขันธ์ชุมพรระนองและพังงา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ครอบคลุมสุราษฎร์ธานีกระบี่ และพังงา

สืบค้น


 เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบันพบว่า ทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน แต่เมื่อนำแผ่นภาพของแต่ละทวีป มาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตก ของทวีปแอฟริกาใต้ได้อย่างพอดี เสมือนหนึ่งว่าทวีปทั้งสองน่าจะเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันออก อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันตก และมีมหาสมุทร แอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก แผ่นทวีปทั้งสองมีการเคลื่อนแยกจากกันเรื่อยๆ จนมีตำแหน่งและรูปร่างดังปัจจุบัน


สืบค้น

รอยเลื่อนเชียงแสน
รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำ น้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2521 มี ขนาด 4.9 ริคเตอร์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 3 ริคเตอร์ เกิดตามแนว รอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง และ 3 ครั้งมีขนาดใหญ่กว่า 4.5 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวทั้งหมดเป็นแผ่นดินไหว ที่เกิดในระดับตื้นกว่า 10 กิโลเมตร

2. รอยเลื่อนแพร่

รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ เด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแผ่น ดินไหวขนาด 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533 ที่ผ่านมา เกิดตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแยกจากรอยเลื่อนแพร่ไปทางทิศเหนือ

3. รอยเลื่อนแม่ทา

รอยเลื่อนนี้มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร จากการศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (2523) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนของการศึกษาในปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิด ในระดับตื้นอยู่มากมายในบริเวณรอยเลื่อนนี้

4. รอยเลื่อนเถิน

รอยเลื่อนเถินอยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชื้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2521

5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี

รอยเลื่อนนี้วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวทั้งสิ้นกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดตามรอยเลื่อนนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518 ที่ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก แผ่นดินไหวครั้งหลังนี้มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

รอยเลื่อนนี้อยู่ทางด้านตะวันตก ของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมามีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายร้อยครั้ง ตามแนวรอยเลื่อนนี้ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดที่วัดได้ในระหว่างนี้ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีขนาด 5.9 ริคเตอร์

7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์

รอยเลื่อนนี้อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้มากมายหลายพันครั้ง

8. รอยเลื่อนระนอง

รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

9. รอยเลื่อนคลองมะรุย

รอยเลื่อนนี้ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนนี้ มีรายงาน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2476 ที่จังหวัดพังงา และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกฝั่งภูเก็ต เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2519, วันที่ 17 สิงหาคม 2542 และวันที่ 29 สิงหาคม 2542



สืบค้น


ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,323 เมตร วัดฐานโดยรอบได้ 150 เมตร บนยอดมีหิมะปกคลุมปีละเก้าเดือน

สืบค้น

กลุ่มดาว คือ กลุ่มของดาวฤกษ์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการในอวกาศสามมิติ. ส่วนใหญ่แล้ว ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวเดียวกันที่เราเห็นอยู่ใกล้กันบนทรงกลมฟ้า ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน และห่างไกลกันมากในอวกาศ. กลุ่มดาวอย่าง "ไม่เป็นทางการ" ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง แต่ไม่ได้รับการรับรองโดยนักดาราศาสตร์ หรือสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล เรียกว่าดาว เรียงเด่น (asterism) ตัวอย่างเช่น กระบวยใหญ่